หมวดที่ ๑
ชื่อเครื่องหมายและสำนักงานที่ตั้ง
|
ข้อ ๑ |
มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิศานติ์ศุข
เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า PEACE AND HAPPINESS FOUNDATION |
ข้อ ๒ |
เครื่องหมายของมูลนิธิ คือ สองมือโอบอุ้มดอกบัวชูพ้นน้ำ
ตามรูปที่ปรากฏด้านล่างนี้: |
ข้อ ๓ |
สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ ๖๕/๖๒ อาคารชำนาญเพ็ญชาติบิสเนสเซ็นเตอร์ ชั้นที่ ๖ ถนนพระราม ๙ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๒๐ |
หมวดที่ ๒
วัตถุประสงค์
|
ข้อ ๔ |
วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ
๔.๑เพื่อให้การศึกษาแก่เด็กยากไร้และผู้ด้อยโอกาสโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
๔.๒เพื่อดำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ |
|
๔.๓ ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด |
หมวดที่ ๓
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
|
ข้อ ๕ |
ทรัพย์สินของมูลนิธิทุนเริ่มแรก คือ
๕.๑ เงินสด จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
รวมเป็นราคาทรัพย์สินทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) |
ข้อ ๖ |
มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีต่อไปนี้
๖.๑ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรม หรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้ มูลนิธิต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระติดพันอื่นใด
๖.๒เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
๖.๓ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ
๖.๔ รายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ |
หมวดที่ ๔
คุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
|
ข้อ ๗ |
กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๗.๑ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
๗.๒ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
๗.๓ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ |
ข้อ ๘ |
กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
๘.๑ ถึงคราวออกตามวาระ
๘.๒ตายหรือลาออก
๘.๓ ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับข้อ ๗
๘.๔เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการมูลนิธิ |
หมวดที่ ๕
การดำเนินงานของคณะกรรมการของมูลนิธิ
|
ข้อ ๙ |
มูลนิธินี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ (สิบ) คน
แต่ไม่เกิน หกสิบ (๖๐) คน ซึ่งประกอบด้วย
๙.๑ คณะกรรมการบริหาร คือกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานของมูลนิธิ
๙.๒คณะกรรมการสามัญ คือกรรมการมูลนิธิทุกท่านซึ่งอาจดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารด้วยในเวลาเดียวกัน |
ข้อ ๑๐ |
คณะกรรมการบริหารของมูลนิธิ ประกอบด้วย
๑๐.๑ ประธานกรรมการมูลนิธิ
๑๐.๒ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายการจัดการและธุรการ
๑๐.๓ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายการเงิน/เหรัญญิก
๑๐.๔ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายบัญชี
๑๐.๕ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายปฏิบัติการ
๑๐.๖ เลขานุการมูลนิธิ
๑๐.๗ กรรมการบริหารอื่น ๆ ตามความเหมาะสมในการดำเนินงานของมูลนิธิ |
ข้อ ๑๑ |
การเลือกตั้งกรรมการบริหารมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้
๑๑.๑ กรรมการมูลนิธิ และกรรมการบริหารทุกตำแหน่ง โดยให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการเป็นมติของที่ประชุม
๑๑.๒ ในกรณีกรรมการบริหารมูลนิธิตำแหน่งใด มีผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งเพียงท่านเดียว และไม่ปรากฏว่ามีมติเสียงข้างมากให้แต่งตั้งกรรมการท่านนั้น ให้ประธานกรรมการมูลนิธิแต่งตั้งกรรมการบริหารมูลนิธิตำแหน่งนั้นได้
๑๑.๓ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการผู้ใดเสนอชื่อตนเองหรือกรรมการท่านอื่น เข้ารับการ เลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิตำแหน่งใด ให้ประธานกรรมการมูลนิธิแต่งตั้งกรรมการบริหารมูลนิธิตำแหน่งนั้นได้ |
ข้อ ๑๒ |
การแต่งตั้งกรรมการสามัญ ให้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่ง อยู่แต่งตั้ง โดยให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม |
ข้อ ๑๓ |
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของกรรมการมูลนิธิ
กรรมการบริหารอยู่ในตำแหน่ง คราวละ ๑ ปี
กรรมการสามัญอยู่ในตำแหน่ง คราวละ ๑ ปี |
ข้อ ๑๔ |
กรรมการสามัญและกรรมการบริหารที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก |
ข้อ ๑๕
ข้อ ๑๖ |
ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลงให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ ตั้งบุคคลอื่น เป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของกรรมการที่ตนมาแทน |
หมวดที่ ๖
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ
|
ข้อ ๑๗ |
คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิตาม วัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑๗.๑ กำหนดนโยบายของมูลนิธิและดำเนินการตามนโยบายนั้น
๑๗.๒ ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ
๑๗.๓ เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีรายรับ – รายจ่าย ต่อนาย ทะเบียน
๑๗.๔ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และ วัตถุประสงค์ของข้อบังคับนี้
๑๗.๕ ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ
๑๗.๖ แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะเพื่อ ดำเนินการเฉพาะอย่างของมูลนิธิ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
๑๗.๗ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลที่ประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษ เป็นกรรมการ กิตติมศักดิ์
๑๗.๘ เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
๑๗.๙ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
๑๗.๑๐ แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำของมูลนิธิ
มติให้ดำเนินการตามข้อ ๑๗.๕, ๑๗.๖ และ ๑๗.๗ ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
การให้ดำเนินการตามข้อ ๑๗.๘, ๑๗.๙ และ ๑๗.๑๐ ให้กระทำได้เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิอีก ๓ ท่าน ลงลายมือชื่อร่วมกันในคำอนุมัติให้ดำเนินการ โดยมิต้องขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และที่ปรึกษาตามข้อ ๑๗.๙ ย่อมเป็นที่ปรึกษาของ กรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น |
ข้อ ๑๘ |
ประธานกรรมการมูลนิธิ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑๘.๑ เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
๑๘.๒ สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
๑๘.๓ เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และในการลงลายมือชื่อในเอกสารบังคับ และสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิ เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิอีกหนึ่งท่านลงลายมือชื่อร่วมกันแล้วจึงเป็นอันผูกพันมูลนิธิ
๑๘.๔ ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการมูลนิธิ |
ข้อ ๑๙ |
ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อ ประธานมอบหมายให้ทำการแทน
ในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และไม่ได้มอบหมายให้รองประธานท่านใดทำการแทน ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเลือกรองประธานกรรมการหนึ่งท่านเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิไปจนกว่าประธานจะกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือจนกว่าที่ประชุมคณะกรรมการจะได้มีมติแต่งตั้งประธานกรรมการมูลนิธิคนใหม่
|
อ ๒๐ |
ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น |
ข้อ ๒๑ |
เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิ ดำเนินการประชุมของมูลนิธิ ทำรายงานการประชุม ช่วยเหลือประธานกรรมการในงานด้านเอกสารและในการติดต่อประสานงานทั่วไปของมูลนิธิ และรักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ |
ข้อ ๒๒ |
ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ดังนี้๒๒.๑ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายการจัดการและธุรการ มีหน้าที่ควบคุมและบริหารงานด้านธุรการ บุคคล จัดซื้อ และการจัดการทั่วไปของมูลนิธิให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
๒๒.๒ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายการเงิน/เหรัญญิก มีหน้าที่จัดหา ควบคุมและบริหารการเงินและทรัพย์สินเพื่อการดำเนินงานของมูลนิธิ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
๒๒.๓ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายการบัญชี มีหน้าที่ควบคุมบัญชีของมูลนิธิและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
๒๒.๔ รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมและบริหารงานของฝ่ายปฏิบัติการภาคสนาม ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด |
ข้อ ๒๓ |
สำหรับกรรมการบริหารตำแหน่งอื่น ๆ ให้จัดให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการ มูลนิธิกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน |
ข้อ ๒๔ |
คณะกรรมการของมูลนิธิมีสิทธิ เข้าร่วมประชุมกรรมการสามัญหรือกรรมการ บริหาร หรืออนุกรรมการอื่น ๆ ของมูลนิธิได้ |
หมวดที่ ๗
อนุกรรมการ
|
ข้อ ๒๕ |
คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม โดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรมการเลขานุการหรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ ก็ให้อนุกรรมการและคณะแต่งตั้งกันเอง ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวก็ได้ |
ข้อ ๒๖ |
อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ส่วน คณะอนุกรรมการประจำ อยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนดซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง และอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกก็ได้
๒๖.๑ อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย
๒๖.๒ อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิ เกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย |
หมวดที่ ๘
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และคณะอนุกรรมการ
|
ข้อ ๒๗ |
คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีภายในเดือน กันยายนของทุกปี การประชุมครั้งอื่นๆ เรียกว่าการประชุมวิสามัญ อาจมีได้ในเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิขอให้มีการประชุม หรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิอย่างน้อยหนึ่งในห้าของจำนวนกรรมการทั้งหมดแสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทน ขอให้มีการประชุม ก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้ |
|
ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิจะต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม |
ข้อ ๒๘ |
การประชุมคณะอนุกรรมการแต่ละคณะ ให้คณะอนุกรรมการนั้นๆ ตกลงกันเองและต้องมีอนุกรรมการของคณะนั้นๆ เข้าประชุมอย่างน้อยสองในสามของจำนวนอนุกรรมการแต่ละคณะ จึงจะถือเป็นองค์ประชุม |
ข้อ ๒๙ |
ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด |
ข้อ ๓๐ |
ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ หรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการ มูลนิธิ หรือประธานในที่ประชุมมีอำนาจเชิญหรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกผู้มีเกียรติหรือผู้สังเกตการณ์ หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คำปรึกษาแก่ที่ประชุมได้ |
ข้อ ๓๑ |
ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ หรือคณะอนุกรรมการนั้น กรรมการหรือ อนุกรรมการสามารถเข้าประชุมด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้กรรมการหรือ อนุกรรมการท่านอื่นแล้วแต่กรณี ทำการออกเสียงแทนตนได้ อนึ่ง การประชุมที่มีกรรมการหรืออนุกรรมการแล้วแต่กรณี เข้าร่วมประชุมทางวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นบางคนหรือทุกคน ถ้ามีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมครบเป็นองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ถือเป็นการประชุมที่ชอบ |
หมวดที่ ๙
การเงิน
|
ข้อ ๓๒ |
อำนาจในการสั่งจ่ายเงินเพื่อการดำเนินงานของมูลนิธิให้เป็นดังนี้
๓๒.๑ ประธานกรรมการมูลนิธิ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
๓๒.๒ ประธานกรรมการมูลนิธิกับรองประธานกรรมการมูลนิธิอีกหนึ่งท่านรวม เป็นสองท่านมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้า แสนบาทถ้วน)
๓๒.๓ ถ้าเกินกว่าจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ โดยต้องได้รับการอนุมัติร่วมจากรองประธานกรรมการอย่างน้อยอีกสองท่าน แล้ว ต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมต่อไป
|
ข้อ ๓๓ |
ประธานกรรมการมูลนิธิ และรองประธานกรรมการมูลนิธิแต่ละท่าน มีอำนาจ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิในความควบคุมของตนถือวงเงินสดย่อยไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ต่อวงเงิน โดยให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด |
ข้อ ๓๔ |
เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ ต้องนำฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นใด หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาล แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร |
ข้อ ๓๕ |
การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คจะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการมูลนิธิกับรอง ประธานกรรมการมูลนิธิอีกหนึ่งท่านรวมเป็นสองท่าน ลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้ |
ข้อ ๓๖ |
การใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารและ จัดการมูลนิธิ ให้สามารถจ่ายจากดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ รายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ และเงินที่ผู้บริจาคแสดงเจตนาบริจาคให้แก่มูลนิธิ เว้นแต่เงินที่ผู้บริจาคแสดงเจตนาให้ใช้เพื่อการใดการหนึ่งโดยเฉพาะ |
ข้อ ๓๗ |
ให้คณะกรรมการมูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน บัญชี และทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ |
ข้อ ๓๘ |
รอบระยะเวลาบัญชีของมูลนิธิกำหนดไว้เป็น ๑ มิถุนายน ถึง ๓๑ พฤษภาคม ของทุกปี |
ข้อ ๓๙ |
รองประธานกรรมการมูลนิธิฝ่ายบัญชีต้องจัดให้มีรายงานสถานะการเงินของ มูลนิธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาซึ่งได้รับการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในการประชุมสามัญประจำปี |
หมวดที่ ๑๐
การแก้ไข เพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
|
ข้อ ๔๐ |
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทำได้ โดยเฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และการอนุมัติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม |
หมวดที่ ๑๑
การเลิกมูลนิธิ
|
ข้อ ๔๑ |
การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องให้ศาลสั่งเลิกโดยเหตุต่อไปนี้๔๑.๑เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด
๔๑.๒ เมื่อกรรมการมูลนิธิจำนวนสองในสามมีมติให้ยกเลิก
๔๑.๓ เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของมูลนิธิ |
ข้อ ๔๒ |
ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการ หรือโดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อใช้ในกิจการบ้านเด็ตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน |
หมวดที่ ๑๒
บทเบ็ดเตล็ด
|
ข้อ ๔๓ |
การตีความข้อบังคับของมูลนิธิหากเป็นที่สงสัย ให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียง ข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด |
Section 44. |
ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับ ในเมื่อข้อบังคับของมูลนิธิไม่ได้กำหนดไว้ |
ข้อ ๔๕ |
มูลนิธิต้องไม่ดำเนินการหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน หรือเพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเอง |